- ผู้ป่วยเป็นหญิงอายุราวๆ 45 – 50 ปี
- หน้าตาบ่งบอกว่าเป็นชาวจีนท้วมๆ ซึ่งผิวควรจะขาวเหลือง
- แต่คนนี้กลับดูคล้ำๆ เล็กน้อย
10 December 2013
กินอาหารแก้เลือดจาง
ก่อนหน้านี้พักใหญ่ มีผู้ใช้บริการมาขอเอกสารกินเสริมธาตุเหล็กเพราะมีปัญหาเลือดจาง พิจารณาดูจากสภาพที่เห็น
26 March 2013
ผลไม้สุกหวานกว่าผลไม้ดิบ
เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันประจำแม้แต่ในหมู่บุคลากรวิชาชีพทางการแพทย์ ก็มักจะมีคำแนะนำที่ไม่เหมาะสม เช่น
- ห้ามกินมะม่วงสุก ข้าวเหนียวมะม่วงนี่ห้ามไปเลย ไปกินมะม่วงดิบแทน
- ให้กินแต่ฝรั่ง แก้วมังกร งดไปเลยลำไย องุ่น
07 March 2013
NPC ratio กับ Protein distribution
สมัยเรียนมีค่า Biochem ที่เคยสงสัยมากว่าจะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างคือ NPC:N Ratio สมัยฝึกงานได้เคยลองทำเป็นสมการดูก็พบว่ามันสัมพันธ์กับ %Protein เพียงอย่างเดียว แล้วก็ลืมมันไปนานมาก
จนวันสองวันนี้ได้คุยกับน้องๆ ที่แม่นวิชาเลยถามอีกครั้งเพื่อความแม่นยำของข้อมูล สรุปคือ
ลองตั้งและแก้สมการในกระดาษด้วยความรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบห่วยๆ ของผม ผลที่ได้ก็ออกมาตามรูปที่ 1
25(100 - B) / B โดย B = % protein distribution โดยไม่สัมพันธ์กับ Total Calories, % fat, % CHO distribution แต่อย่างใด
ตรวจสอบด้วย Spreadsheet แล้วก็พบว่าคำนวณได้อย่างถูกต้อง ตามนี้
และจากในตารางจะเห็นว่า ไม่ว่าจะเพิ่ม Total calories ไปเท่าไหร่ หรือเปลี่ยน Ratio ของ Fat / CHO มากน้อยแค่ไหน ค่า NPC ratio ก็จะไม่เปลี่ยนไปเลย แต่จะเปลี่ยนตาม %Protein distribution เพียงค่าเดียว
ถ้าพิจารณาตาม Requirement ข้างบน
จนวันสองวันนี้ได้คุยกับน้องๆ ที่แม่นวิชาเลยถามอีกครั้งเพื่อความแม่นยำของข้อมูล สรุปคือ
The nonprotein calories to nitrogen ratio (NPC:N) is calculated as follows:ทีนี้ลองคิดแบบนี้ว่า
Desireable NPC:N ratios
- Calculate grams of nitrogen supplied per day. 1 g of N = 6.25 g of protein.
- Devide total nonprotein calories by grams of nitrogen
- 80:1 the most severely stressed patients
- 100:1 severely stressed patients
- 150:1 unstressed patient
- ถ้าโปรตีน 15% ของ Total calories ที่ 2000 มันคือโปรตีน 300/4 = 75 กรัม คิดเป็น Nitrogen ได้ = 75/6.25 = 12 g
- Nitrogen Total nonprotein calories คือ 85% ของ 2000 คือ (100-15)*2000 = 1700 Kcal
- NPC = 1700 / 12 = 141.7
ลองตั้งและแก้สมการในกระดาษด้วยความรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบห่วยๆ ของผม ผลที่ได้ก็ออกมาตามรูปที่ 1
25(100 - B) / B โดย B = % protein distribution โดยไม่สัมพันธ์กับ Total Calories, % fat, % CHO distribution แต่อย่างใด
ตรวจสอบด้วย Spreadsheet แล้วก็พบว่าคำนวณได้อย่างถูกต้อง ตามนี้
และจากในตารางจะเห็นว่า ไม่ว่าจะเพิ่ม Total calories ไปเท่าไหร่ หรือเปลี่ยน Ratio ของ Fat / CHO มากน้อยแค่ไหน ค่า NPC ratio ก็จะไม่เปลี่ยนไปเลย แต่จะเปลี่ยนตาม %Protein distribution เพียงค่าเดียว
ถ้าพิจารณาตาม Requirement ข้างบน
- NPC 80 จะใกล้เคียง 25% Protein distribution
- NPC 100 = 20%
- NPC 150 = 13 - 14%
ข้อเท็จจริงเรื่อง "มะเฟืองกับไตวาย"
คุณผู้อ่านหลายคนอาจเคยได้รับ ฟอร์เวิร์ดเมลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ มากมาย (โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องโกหกแบบ จับแพะชนแกะ อาศัยความไม่รู้ หรือคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ให้ดูน่าเชื่อถือ) อาจเคยได้รับบทความเกี่ยวกับ “มะเฟืองทำให้ไตวาย” รวมอยู่ด้วย ซึ่งผมเองก็สงสัยจึงค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลต่างๆ พบว่า เรื่องนี้มีมูล โดยมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์กันเป็นเรื่องเป็นราว และมีเคสตัวอย่างมากจำนวนหนึ่ง เห็นแล้วก็สนใจจึงได้เก็บข้อมูลมาเขียนเอาไว้ (นานมากแล้ว เกือบ 1 ปีเต็ม)
บทความนี้ได้ใช้ข้อมูลจาก Pubmed โดยค้นหาโดยใช้คำว่า Starfruit และ kidney ได้ผลการค้นหาจำนวน 16 รายการ ณ วันที่ 11 กันยายน 2554
ทำความรู้จักกับมะเฟืองกันก่อน
ภาพจาก Wikipedia
มะเฟืองนั้น เป็นผลไม้ที่นิยมกินในแถบร้อนชื้นเป็นหลัก โดยตัวผลนั้นมีสีเขียวจนไปทางเหลืองรูปร่างเหมือนดาว คล้ายๆ กระสวยอวกาศ ตัวมะเฟืองนั้นมีสารอาหารหลักดังนี้
จะเห็นว่าโดยธรรมชาติของมะเฟืองนั้นให้น้ำตาลค่อนข้างน้อย แต่กลับมีโพแทสเซียมสูงทีเดียว ถ้าลองคิดกลับมาที่ 1 ส่วน (220 กรัม) จะพบว่าให้โพแทสเซียมสูงถึง 290 มก โดยตามธรรมชาติ มะเฟืองจึงดูไม่เป็นมิตรกับผู้ป่วยโรคไต หรือผู้มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
กลับมาดูในส่วนของมะเฟืองกับไตเสื่อมกันต่อ จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ พบว่ามีผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากที่ไตจะทำงานแย่ลงเมื่อกินมะเฟือง โดยมีอาการตั้งแต่ ค่าการทำงานของไตลดลง ไปจนกระทั่งเกิดภาวะแอมโมเนียคลั่งจนสมองทำงานผิดปรกติ (Hepatic encephalopathy) ซึ่งจะเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคไตเสื่อมอยู่ก่อนแล้ว การเกิดพิษของมะเฟืองนั้นคาดว่าเกิดจาก ออกซาเลตในผลมะเฟือง (เนื่องจากไม่มีปริมาณของออกซาเลตในฐานข้อมูลของ USDA จึงระบุชัดเจนไม่ได้ว่ามีปริมาณเท่าไหร่)
มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ถึงกระบวนการเกิดความเป็นพิษต่อไต (Mechanism) ของมะเฟืองไว้ว่า เกิดได้ 2 วิธี คือ
1. การเกิดผลึกแคลเซียมออกซาเลตไปอุดตันภายในท่อไตและ
2. การกระตุ้นให้เซลล์ของหน่วยไตตาย (Apoptosis)
ซึ่งคาดว่าเกิดจากปริมาณของออกซาเลตเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้จะไม่ส่งผลกับผู้ที่ไม่มีปัญหาโรคไตแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องห้ามกินในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง
ข้อสรุปในเรื่องนี้คือ
1. คนปรกติสามารถกินมะเฟืองได้ตามปรกติ รวมไปถึงคนที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง ก็ควรจะต้องกินเป็นประจำ เนื่องจากให้พลังงานต่ำ แต่ให้โพแทสเซียมสูง สามารถช่วยลดความดันได้ดี
2. ควรงดเว้นมะเฟืองในผู้ป่วยโรคไต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม CKD, ESRD หรือ AR ก็ตามเนื่องจากปริมาณโพแทสเซียมและออกซาเลตที่สูงมากเช่นกัน
มีงานวิจัยที่อ้างถึง
Mechanisms of star fruit-induced acute renal failure - http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18294746
บทความนี้ได้ใช้ข้อมูลจาก Pubmed โดยค้นหาโดยใช้คำว่า Starfruit และ kidney ได้ผลการค้นหาจำนวน 16 รายการ ณ วันที่ 11 กันยายน 2554
ทำความรู้จักกับมะเฟืองกันก่อน
ภาพจาก Wikipedia
มะเฟืองนั้น เป็นผลไม้ที่นิยมกินในแถบร้อนชื้นเป็นหลัก โดยตัวผลนั้นมีสีเขียวจนไปทางเหลืองรูปร่างเหมือนดาว คล้ายๆ กระสวยอวกาศ ตัวมะเฟืองนั้นมีสารอาหารหลักดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม [USDA Standard Reference for Nutritive Value of food]
พลังงาน 30 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม
- น้ำตาล 4 กรัม
- เส้นใย 2.8 กรัม
ไขมัน 0.33 กรัม
โปรตีน 1.04 กรัม
วิตามินซี 34.4 มก
ฟอสฟอรัส 12 มก
โพแทสเซียม 133 มก
จะเห็นว่าโดยธรรมชาติของมะเฟืองนั้นให้น้ำตาลค่อนข้างน้อย แต่กลับมีโพแทสเซียมสูงทีเดียว ถ้าลองคิดกลับมาที่ 1 ส่วน (220 กรัม) จะพบว่าให้โพแทสเซียมสูงถึง 290 มก โดยตามธรรมชาติ มะเฟืองจึงดูไม่เป็นมิตรกับผู้ป่วยโรคไต หรือผู้มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
กลับมาดูในส่วนของมะเฟืองกับไตเสื่อมกันต่อ จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ พบว่ามีผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากที่ไตจะทำงานแย่ลงเมื่อกินมะเฟือง โดยมีอาการตั้งแต่ ค่าการทำงานของไตลดลง ไปจนกระทั่งเกิดภาวะแอมโมเนียคลั่งจนสมองทำงานผิดปรกติ (Hepatic encephalopathy) ซึ่งจะเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคไตเสื่อมอยู่ก่อนแล้ว การเกิดพิษของมะเฟืองนั้นคาดว่าเกิดจาก ออกซาเลตในผลมะเฟือง (เนื่องจากไม่มีปริมาณของออกซาเลตในฐานข้อมูลของ USDA จึงระบุชัดเจนไม่ได้ว่ามีปริมาณเท่าไหร่)
มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ถึงกระบวนการเกิดความเป็นพิษต่อไต (Mechanism) ของมะเฟืองไว้ว่า เกิดได้ 2 วิธี คือ
1. การเกิดผลึกแคลเซียมออกซาเลตไปอุดตันภายในท่อไตและ
2. การกระตุ้นให้เซลล์ของหน่วยไตตาย (Apoptosis)
ซึ่งคาดว่าเกิดจากปริมาณของออกซาเลตเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้จะไม่ส่งผลกับผู้ที่ไม่มีปัญหาโรคไตแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องห้ามกินในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง
ข้อสรุปในเรื่องนี้คือ
1. คนปรกติสามารถกินมะเฟืองได้ตามปรกติ รวมไปถึงคนที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง ก็ควรจะต้องกินเป็นประจำ เนื่องจากให้พลังงานต่ำ แต่ให้โพแทสเซียมสูง สามารถช่วยลดความดันได้ดี
2. ควรงดเว้นมะเฟืองในผู้ป่วยโรคไต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม CKD, ESRD หรือ AR ก็ตามเนื่องจากปริมาณโพแทสเซียมและออกซาเลตที่สูงมากเช่นกัน
มีงานวิจัยที่อ้างถึง
Mechanisms of star fruit-induced acute renal failure - http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18294746
06 March 2013
ปริมาณน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยสำหรับแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
น้ำหวานเข้มข้นอย่างเฮลซ์บลูบอยนั้นค่อนข้างเป็นที่นิยมใช้ในการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เพียงแต่โดยปรกติใช้กันโดยไม่รู้ว่าปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดี จึงกินเกินเป็นส่วนใหญ่
ตามฉลากของน้ำหวานให้ข้อมูลไว้ดังนี้คือ
ส่วนวิธีการผสมคือ ผสมน้ำหวาน 1 ส่วน ต่อน้ำ 4 ส่วน ซึ่งรวมกันได้ 5 ส่วน
หรือ ให้ผสมน้ำหวาน 20% Total volume นั่นแปลว่า
ถ้าในน้ำหวานเจือจาง 100 มล จะใช้น้ำหวานเข้มข้น 20 มล และให้น้ำตาล 13 กรัม
ปริมาณน้ำตาลที่เราต้องการคือ 15 กรัม ซึ่งคิดเป็น
(20*15)/13 = 23
ปัดเศษเป็นช้อนชา (ช้อนละ 5 มล) ก็ 5 ช้อนชา หรือ เป็นช้อนโต๊ะ (ช้อนละ 15 มล) ก็ 2 ช้อนโต๊ะ โดยประมาณ
ตามฉลากของน้ำหวานให้ข้อมูลไว้ดังนี้คือ
น้ำหวานเมื่อเจือจางแล้วจะมีส่วนประกอบดังนี้
น้ำตาล 13% w/v
กลิ่นสละ 0.1% w/v
ส่วนวิธีการผสมคือ ผสมน้ำหวาน 1 ส่วน ต่อน้ำ 4 ส่วน ซึ่งรวมกันได้ 5 ส่วน
หรือ ให้ผสมน้ำหวาน 20% Total volume นั่นแปลว่า
ถ้าในน้ำหวานเจือจาง 100 มล จะใช้น้ำหวานเข้มข้น 20 มล และให้น้ำตาล 13 กรัม
ปริมาณน้ำตาลที่เราต้องการคือ 15 กรัม ซึ่งคิดเป็น
(20*15)/13 = 23
ปัดเศษเป็นช้อนชา (ช้อนละ 5 มล) ก็ 5 ช้อนชา หรือ เป็นช้อนโต๊ะ (ช้อนละ 15 มล) ก็ 2 ช้อนโต๊ะ โดยประมาณ
23 February 2013
Dietitian Mobile Tools Webapp สำหรับงานนักกำหนดอาหาร
Dietitian Mobile Tools เป็นส่วนของ Thesis ของผมที่นำมาปรับส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่ให้รองรับการทำงานด้วยระบบสัมผัส (Touch input) ซึ่งเป็นที่นิยมบนโทรศัพท์มือถือในสมัยนี้ สามารถทำงานได้เร็วและสะดวกมากขึ้นโดยเฉพาะงานโภชนคลินิก
Dietitian Mobile Tools เวอร์ชั่น 1.0 มีเครื่องมือต่างๆ ดังนี้
- Meal Planning Tools ที่ใช้ DM Exchange
- Medical calculator
Preview
- เข้าใช้งานทาง url: http://tool.dietitian.in.th จะพบ Main interface ดังภาพข้างล่าง

- แสดง module ย่อยต่างๆ ของ Medical calculator โดยมักจะเป็นตัวที่ใช้งานบ่อยๆ ทางคลินิก

- แสดงภาพตัวอย่าง module ย่อยเกี่ยวกับการคำนวณ Ideal Body Weight, BMI และ Amputation ต่างๆ ของผู้ป่วย

- แสดงภาพตัวอย่าง module Meal planning tool ที่ใช้ DM Exchange

Testing Environment
- Dietitian Mobile Tools แม้จะเป็น Webapp แต่ก็ถูกทดสอบบนระบบที่มีความหลากหลาย เพื่อให้มีข้อบกพร่องในการทำงานให้น้อยที่สุด

22 February 2013
แนวทางการวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการ
โดย รศ.นพ.วิทยา ศรีดามา และ พล.อ.ต. นพ. วิบูลย์ ตระกูลฮุน
นำมาจากเอกสาร :
แนวทางการวินิจฉัยภา วะทุพโภชนาการ และคู่มือการใช้แบบประเมินภาวะทุพโภชนาการ BNT (Bhumibol Adulayadej Hospital Nutrition Triage) ฉบับเริ่มแรก (ส.ค. 52)
ในกรณีที่มีค่าน้ำหนักตัวก่อนหน้านั้น การที่น้ำหนักตัวไม่เพิ่มในเด็ก
หรือน้ำหนักลดในผู้ใหญ่ หรือเด็ก ทำให้นึกถึงภาวะ Malnutrition
โดยใช้ตารางดังนี้
อ้างอิงจาก : Modified from Kovacevich DS, et al. Nutrition risk classification in PN Handbook. A.S.P.E.N.2009.
ในผู้ป่วยบางรายก่อนที่จะเจ็บป่วย มีน้ำหนักเกินอยู่มาก เมื่อมีภาวะ Malnutrition เกิดขึ้น การวัด BMI ครั้งเดียว โดยไม่มีผลกับการเปลี่ยนแปลงจากน้ำหนักเดิม ทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดว่าไม่มีภาวะ Malnutrition
ดังนั้นจาก BMI หรือ % ของน้ำหนักตัวที่ลดลงสามารถวินิจฉัยภาวะ malnutrition ดังนี้
ผู้ป่วยอยู่ในลักษณะ cachexia คือมีลักษณะทั่วไปพบว่า มีการสูญเสียไขมัน และกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปโดยเด่นชัด บริเวณ temporal, suprascapular ยืนยันโดย 2 ข้อจาก 5 ข้อข้างล่างนี้
มีลักษณะอาการทางคลินิกดังนี้
นำมาจากเอกสาร :
แนวทางการวินิจฉัยภา วะทุพโภชนาการ และคู่มือการใช้แบบประเมินภาวะทุพโภชนาการ BNT (Bhumibol Adulayadej Hospital Nutrition Triage) ฉบับเริ่มแรก (ส.ค. 52)
การวินิจฉัยภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
ในหนังสือ ICD ฉบับที่ 1 กำหนดว่าการกำหนดความรุนแรงของภาวะ Malnutrition นั้น วัดโดยน้ำหนักตัว โดยใช้ค่า Mean ของค่าอ้างอิงของประชากร ร่วมกับ Standard deviation ดังนั้น- Severe malnutrition จะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าค่า mean ของค่าอ้างอิงของประชากรอ้างอิงมากกว่า 3 standard deviation หรือมากกว่า
- Moderate malnutrition จะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าค่า mean ของค่าอ้างอิงของประชากรอ้างอิง 2-2.9 standard deviation
- Mild malnutrition จะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าค่า mean ของประชากรอ้างอิง 1-1.9 standard deviation
ระดับ | ค่า BMI | ความรุนแรง | รหัส |
---|---|---|---|
1. | BMI 17.00 – 18.49 | ระดับ 1 - Mild | E44.1 |
2. | BMI 16.00 – 16.99 | ระดับ 2 - Moderate | E44.0 |
3. | BMI < 16.00 | ระดับ 3 - Severe | E43 |
% น้ำหนักที่ลดลงในช่วงเวลา | เล็กน้อย | ปานกลาง | รุนแรง |
---|---|---|---|
1 สัปดาห์ | 1 % | 1.1 - 2. % | > 2 % |
2-3 สัปดาห์ | 2 % | 2.1 – 3 % | > 3 % |
1 เดือน | 4 % | 4.1 – 5 % | > 5 % |
3 เดือน | 7 % | 7.1 – 8 % | > 8 % |
> 5 เดือน | 8 % | 8.1 – 10 % | > 10 % |
ในผู้ป่วยบางรายก่อนที่จะเจ็บป่วย มีน้ำหนักเกินอยู่มาก เมื่อมีภาวะ Malnutrition เกิดขึ้น การวัด BMI ครั้งเดียว โดยไม่มีผลกับการเปลี่ยนแปลงจากน้ำหนักเดิม ทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดว่าไม่มีภาวะ Malnutrition
ดังนั้นจาก BMI หรือ % ของน้ำหนักตัวที่ลดลงสามารถวินิจฉัยภาวะ malnutrition ดังนี้
- Unspecified severe protein – Energy malnutrition (E43)
- Moderate protein - Energy malnutrition (E44.0)
- Mild protein - Energy malnutrition (E44.1)
- งดน้ำและอาหารให้สารน้ำปกติ เป็นเวลา > 7 วัน
- ได้รับอาหารน้อยลงเหลือ 25 % ของปกติ เป็นเวลามากกว่า > 7 วัน
- ได้รับอาหารน้อยลงเหลือ 50 % ของปกติ เป็นเวลามากกว่า > 14 วัน
- Kwaskiokor (E40)
- Nutritional maramus (E41)
- Marasmic Kwashiorkor (E42)
ผู้ป่วยอยู่ในลักษณะ cachexia คือมีลักษณะทั่วไปพบว่า มีการสูญเสียไขมัน และกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปโดยเด่นชัด บริเวณ temporal, suprascapular ยืนยันโดย 2 ข้อจาก 5 ข้อข้างล่างนี้
- น้ำหนักลดลง โดยมี BMI < 16.0
- Serum albumin อาจต่ำ (แต่ต่ำไม่มาก มีระดับต่ำไม่เกิน 2.8 กรัม/ดล)
- Tricep skin fold < 3 มม.
- Mid arm muscle circumference < 15 ซม.
- Creatinine – height index < 60 % มาตรฐาน (24 ชม. Urinary creatinine excretion เปรียบเทียบกับค่าปกติ เทียบตามความสูง)
มีลักษณะอาการทางคลินิกดังนี้
- ผมหลุดร่วงง่าย (ทดสอบโดยดึงผม โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ดึงผมจากบริเวณศีรษะด้านบน มีผม 3 เส้น หรือมากกว่าดึงออกได้ง่าย)
- บวม
- ผิวหนังแตก
- แผลหายยาก
- มีแผลกดทับ
- Transferrin < 150 มก/ดล
- Total iron –binding capacity < 200 µg/dl
- เม็ดเลือดขาว < 15000
- ไม่ตอบสนองต่อการทดสอบทางผิวหนัง (energy)
Subscribe to:
Posts (Atom)